วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จากแรงบันดาลใจ....สู่ผู้พิการทางสายตา



“การถ่ายภาพคืองานอดิเรกที่ทำให้ผมมีความสุข” เป็นข้อความประโยคแรก ๆ จากการให้สัมภาษณ์ของผมที่ปรากฏในนิตยสาร “On Camera” ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551 และสำหรับผมแล้ว การถ่ายภาพที่รู้สึกชื่นชอบมากเป็นพิเศษก็คือ “ธรรมชาติ” ไม่ว่าจะเป็น ทะเล ป่า เขา สายธาร น้ำตก ฯลฯ

การได้ดื่มด่ำกับความงดงามของธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า แล้วบรรจงจัดองค์ประกอบภาพตามความพึงพอใจเพื่อถ่ายทอ ดสิ่งที่เห็นลงบนสื่อบันทึกภาพของกล้อง เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่มีค่ามหาศาลแก่ชีวิตที่ยั งหลงเหลืออยู่ของผม

สีสันและแสงเงา ที่ปรากฏอยู่ในทุกหนแห่ง ล้วนแปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน ของเดือน ของฤดูกาล ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้น เราจะ “มอง” แล้ว “เห็น” ความงามที่ซุกซ่อนอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งได้เห็นมาก เราก็จะยิ่งมีความสุขมากยิ่งขึ้น ทำให้คิดต่อไปว่าแม้หากผมต้องกลายสภาพเป็นคนตาบอดสนิ ทลงไปในตอนนี้ ซึ่งส่งผลให้ไม่อาจมองเห็นสรรพสิ่งใด ๆ ได้อีกแล้วก็ตาม ผมก็เชื่อว่าผมจะยังคงสามารถถ่ายภาพได้ ด้วยความเคยชินมาเป็นเวลานานพอสมควร แม้จะมีข้อจำกัดในการมองเห็น ซึ่งน่าจะชดเชยได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางอื่นแทน และน่าจะมีความสุขกับการถ่ายภาพได้อีกต่อไปตราบเท่าที่ผมต้องการ

แต่สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมาตั้งแต่กำเนิด หรือภายหลังก็ตาม โดยที่บุคคลผู้นั้นไม่เคยผ่านการเรียนรู้เรื่องการถ่ ายมาก่อนเลย เมื่อเราสอนให้ถ่ายภาพแล้ว เขาจะสามารถถ่ายภาพได้หรือไม่ นั่นคือข้อสงสัยของผมในขณะนั้น

จนกระทั่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2552 ผมมีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายผลงานของคนตาบอดชาวอิสราเ อล จำนวน 8 คน ได้บันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันของพวกเขา นับตั้งแต่สิ่งธรรมดาสามั* อย่างผู้โดยสารที่รอรถไฟ ไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งได้เคยจัดแสดงมาแล้วทั่วประเทศอิสราเอล กับทั้งได้รับการถ่ายทำเป็นข่าวสารคดีโดยสำนักข่าวซี เอ็นเอ็น เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 และสำหรับครั้งนี้จัดขึ้นที่ ไอคิว แลป ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยมี อิริส ดาเรล ซีนาห์ และ คเฟียร์ ซิวาน ครูผู้สอนชาวอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมกันคิดค้นวิธีการ แล้วนำไปสอนถ่ายภาพให้คนตาบอด เป็นผู้ถ่ายทอดเบื้องลึกในเรื่องนี้ โดยเล่าว่าการถ่ายภาพของคนตาบอดนั้น ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะผู้คนมักเชื่อมโยงการถ่ายภาพเข้ากับ “แสง” และ “การมองเห็น”

แม้ว่าทั้งอิริส และคเฟียร์ จะเป็นครูสอนคนตาบอดถ่ายภาพ แต่ทั้งสองท่านก็ยอมรับว่าตอบไม่ได้ว่าคนตาบอดเห็นอะ ไรในภาพ รู้เพียงว่าคนตาบอดใช้ “ใจ” มองภาพ และเชื่อว่าคนตาบอดมีสัมผัสที่ 6 เพราะในช่วงเวลาที่ออกไปถ่ายภาพ คนตาบอดจะรู้ว่าถ่ายอะไร เมื่อกลับเข้ามา ครูถามว่าไปถ่ายภาพอะไรมา เหล่านักเรียนตาบอดสามารถบอกได้ตรงกันกับสิ่งที่ปราก ฎในภาพถ่าย






ผู้พิการทางสายตาหรือคนตาบอด คือกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ บางคนมีความสามารถพิเศษพร้อม ๆ กันหลายด้าน แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าคนตาบอดจะมีความสามารถถ่ายภาพ ได้ ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้วเขาเหล่านั้นใช้ใจสัมผัสแ ทนตา ใช้จินตนาการ ความรู้สึก และประสาทสัมผัสทั้ง 5 นอกจากการมองเห็น เขาสามารถวัดระยะของวัตถุด้วยการใช้หูฟังเสียงแทนการ มองเห็นด้วยตา ใช้ผิวหนังบอกเล่าถึงทิศทางและความเข้ม/อ่อน ของแสง ให้จมูกดมกลิ่นของสิ่งต่าง ๆ และที่พิเศษก็คือ คนตาบอดถ่ายภาพโดยไม่เลียนแบบใคร เพราะไม่เคยเห็นภาพของใครมาก่อน แม้เป็นภาพธรรมดา ๆ แต่มีความบริสุทธิ์ มีความเป็นเอกลักษณ์ แสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ทั้ง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยใจ

ประการสำคัญก็คือ การถ่ายภาพช่วยให้คนตาบอดเกิดความภูมิใจในศักยภาพของ ตนเอง เมื่อสามารถทำในสิ่งที่คนปกติทำได้ และสิ่งที่ตามมาก็คือ “ความสุข” อันเกิดจากการถ่ายภาพ เช่นเดียวกันกับที่ผมกำลังมีอยู่ในขณะนี้

ก่อนจะสิ้นสุดการสัมมนา ได้มีการแจกผ้าผืนเล็ก ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมรับฟังที่มีกล้องถ่ายภาพติดตัวมาด้ วย ใช้ผ้าผูกตาตนเองจนไม่สามารถมองเห็น เสมือนหนึ่งเป็นคนตาบอด แล้วกดชัตเตอร์ถ่ายภาพตามทิศทางที่ผู้บรรยายให้สั**า ณเสียง เช่น เสียงลั่นชัตเตอร์ของกล้องถ่ายภาพ เสียงปรบมือ โดยผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เข้าร่วมการทดสอบครั้งนั้นด้ว ย ซึ่งปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง



นั่นก็คือ “แรงบันดาลใจ” ให้ได้ตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในการถ่ ายภาพที่พอจะมีติดตัวอยู่บ้างเล็กน้อย ให้กับผู้พิการทางสายตา หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนด้อยโอกาสอื่น ๆ ได้ย่างก้าวขึ้นมาสู่ถนนของการถ่ายภาพ ถนนเส้นเดียวกันกับที่ผมกำลังเดินอยู่อย่างมีความสุข และผมก็เชื่อแน่ว่าเราสามารถจะถ่ายทอดความสุขที่มี ไปยังผู้คนเหล่านั้นได้โดยไม่ยากนัก หากเราจะร่วมผนึกกำลังกันให้เป็นหนึ่งเดียว แล้วลงมือทำอย่างมุ่งมั่น จริงจัง ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด

จึงก่อให้เกิดชุมชนคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ชุมชน P4A
28 กันยายน 2553
ธวัช มะลิลา

******************************************


เมื่อสิ่งที่ฝัน กำลังจะเป็นความจริง

ตอนที่ผมไปฟังคุณ Iris Darel Shinar ครูผู้สอนการถ่ายภาพให้กับผู้พิการทางสายตาชาวอิสราเ อล ซึ่งมาบรรยายเชิงปฏิบัติการที่สำนักงาน IQ Lab เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 นั้น ตอนหนึ่งเธอกล่าวว่า ผู้พิการทางสายตาที่เธอสอนถ่ายภาพ ล้วนมีความสุข สนุกสนาน มีความกระตือรือล้นที่จะเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพอย่ างมาก

ผมฟังแล้วก็ยังรู้สึกเฉย ๆ แต่คิดว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็น "ความสุขของผู้รับ" โดยสิ่งนั้นไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน รวมทั้งตัวเราเอง เราน่าจะทำ เพราะ....เวลาที่จะทำความดีของทุกคนเหลือน้อยเต็มที ความตายมักจะมาเยี่ยมเยียนโดยไม่บอกกล่าว มาอย่างฉับพลันทันด่วน บางคนอายุยังน้อยอยู่แท้ ๆ ชิงตายก่อนคนแก่ก็เห็นมีถมไป   

เกิดมาเป็นคนกับเขาชาติหนึ่ง เมื่อตายไป ก็จะไม่สามารถนำอะไรติดตัวไปได้เลย


แต่....เราสามารถจะทิ้งอะไรไว้ข้างหลังได้ และอะไรที่ว่านั้นควรต้องเป็นสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ให้ผู้คนเขากล่าวขานถึงเราในทางที่ดี


Recommended article : AN UNSIGHTED WORLD FROM BEHIND A LENS
http://www.pict4all.com/vboard/showt...paired-Project

 

จนกระทั่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553 ผู้ร่วมโครงการทุกคนได้ผนึกกำลังกันเท่าที่มี เพื่อนำสิ่งดีดีสู่สังคม
...สังคมของผู้พิการทางสายตา

ที่นั่น ผมสัมผัสได้ถึงสิ่งที่คุณ Iris Darel Shinar ได้เคยกล่าวไว้ ผมได้เห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ อันเกิดจากความสุขของทั้งผู้ให้และผู้รับ ตลอดช่วงระยะเวลาที่เราได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

พวกเราต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันทำหน้าที่ของตน อย่างมีความสุข....ความสุขของผู้ให้ เพื่อส่งมอบไปยังผู้รับ ทั้งในตัวอาคาร และที่สนามเด็กเล่น

 

ภาพแห่งความสุขที่ผมได้เห็นในวันนั้น ผมไม่อายเลยที่จะบอกว่า ผมรู้สึกปลาบปลื้มจนน้ำตาคลอ แม้ขณะที่ผมกำลังพิมพ์ข้อความนี้อยู่ก็ตาม

ยิ่งเมื่อได้เห็นความอาลัยอาวรณ์ของครูและศิษย์ ที่เพิ่งจะอยู่ใกล้ชิดกันเพียงไม่เกิน 3 ชั่วโมง แล้วจะต้องจากกัน
ยิ่งทำให้ผมตระหนักว่า ความรัก ความปรารถนาดี ความจริงใจ ที่เราจะมอบให้แก่กันและกันนั่นแหละ เป็นสิ่งที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 

เป็นความสุขที่ไม่อาจซื้อได้ด้วย "เงิน"

 แต่เราสามารถมอบให้กันได้ด้วย "ใจที่บริสุทธิ์" เท่านั้น 

 

 

ภาพแห่งความสุขที่เห็นในวันนั้น ผมไม่อยากจะเก็บเอาไว้คนเดียว
แต่...อยากจะแบ่งปันให้พวกเราที่ยังไม่ได้ไป ยังไม่ได้เห็น ว่าเกิด
อะไรขึ้นบ้าง

เราสอนกันแบบตัวต่อตัว ทุ่มเทและมุ่งมั่น เพราะ...เราตระหนักว่า
เรากำลังทำสิ่งดีดีให้กับสังคม


อาจารย์ภูกำลังติวเข้มให้ศิษย์

ดูความมุ่งมั่นของเจ้าป้า

 

ศิษย์ของใครก็ของคนนั้น


 คนไฟแรงที่พร้อมลุยทำความดีเพื่อสังคม



 

การมีชีวิตยืนยาวขึ้นอีกหนึ่งวัน เป็นของขวัญอันประเสริฐสุด แต่...หนึ่งวันที่เพิ่มขึ้นมานั้น เราได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มากน้อยเพี ยงใด....

หรือว่าเราจะทำเพียงเพื่อตัวของเราเองเท่านั้นก็พอแล ้ว

 

แม้ท่านผู้นี้จะเหน็ดเหนื่อยสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังมีรอยยิ้มอย่างมีความสุขอยู่เสมอ

ผมขอจบลงด้วยภาพนี้ครับ

   

จากแรงบันดาลใจ....สู่ผู้พิการทางสายตา( 28 กันยายน 2553)

เมื่อสิ่งที่ฝัน กำลังจะเป็นความจริง (16 พฤศจิกายน 2553)
โดย ธวัช มะลิลา

 

 

ปกิณกะ

 **  ภาพตอนเริ่มโครงการ คุณนพดล ทดลองปิดตาเป็นคนตาบอด และถ่ายภาพ **


 **   จากโครงการที่่เป็นไปไม่ได้ 

        สู่ความสำเร็จในการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพได้ 

        จนสามารถจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย 

        84 ภาพ.... ถ่ายด้วยหัวใจ ถวายในหลวง

       ด้วย ฝีมือนักเรียนตาบอดที่อยู่ในโครงการทุกคน


 ติดตามได้ที่ http://pictforall.blogspot.com/2012/01/blog-post_1282.html

           http://www.Pict4all.com

 

1 ความคิดเห็น:

Pict4all ( ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน) กล่าวว่า...

จากใจ ชาวPict4all.........
โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้ามิใช่จากแรงบันดาลใจ ของท่านผู้นี้
ท่านนอกจากสอนสั่ง ถ่ายทอดวิชาการถ่ายภาพแบบจิตรศิลป์
จนลูกศิษย์มีความสามารถได้ดิบได้ดีไปหลายท่าน
ท่านยังเป็นแบบอย่างการทำความดี
โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ
ท่านมักจะอยู่เบื้องหลัง และ ให้การสนับสนุนเท่าที่จะสามารถทำให้ได้
โครงการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพได้ จึงเป็นโครงการที่เหล่าลูกศิษย์
เต็มใจ และ ภูมิใจ ที่ได้ทำโครงการที่ดี มีประโยชน์ ต่อสังคม
และสัญญาว่า พวกเราจะเดินหน้าต่อไป ตราบเท่าที่ยังมีแรงกาย แรงใจ