หลังจากทีมงาน Pict4all เริ่มโครงการสอนถ่ายภาพให้กับคนตาบอด ก็มีหลายๆเสียงถามมาอย่างมากมายว่า เรามีวิธีการอย่างไรให้คนตาบอดสามารถถ่ายภาพได้ เหมือนๆกับคนตาดี
ขั้นตอนแรกเลยเมื่อได้กล้องไปแล้ว ก็ต้องให้คนตาบอดหัดถอดแบตเตอรี่และ Memory Card ซึ่งเราต้องศึกษาก่อนว่า กล้องที่เค้าใช้นั้นมีลักษณะของแบตเตอรี่และการ์ดอย่ างไร...?
จากนั้นก็มาดูที่ตัวกล้องว่า เมื่อเปิดฝาปิดแบตเตอรี่และการ์ดแล้ว ตัวกล้องจะมีลักษณะอย่างไร...เช่น ลักษณะของฝาเปิด-ปิดตั้งขึ้นมา หรือเลื่อนเข้าเลื่อนออก
ตรงนี้แหละที่เราต้องบอกให้คนตาบอดคลำรูปลักษณ์ของกล ้องไว้ แล้วคลำรูปลักษณ์ของแบตเตอรี่กับการ์ด ดูว่าตรงไหนมีลักษณะแปลกไป เช่น เป็นร่องของขั้วแบตเตอรี่หรือเป็นเหลี่ยมตัดของตัวกา ร์ด จากนั้นก็ให้เอาตำแหน่งของความต่างนี่แหละมาประกอบมุ มกับฝาเปิด-ปิด แค่นี้ก็จะได้หลักในการจดจำแล้วว่า เมื่อถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่และการ์ดจะกลับมาใส่ใหม่ให้ ถูกต้องได้อย่างไร...?
ไม่น่าเชื่อว่าการสอนให้กับเด็กตาบอดในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดห่างไกลอย่างที่โรงเรียนสันติจินตนา อ.เด่นชัย จ.แพร่ เด็กๆสามารถทำได้เพียงแค่ห้าหกนาทีเท่านั้นก็สามารถใ ส่ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว
สงสัยหรือไม่ว่าทำไมคนตาบอดต้องเอากล้องแนบไว้ที่ "ตา" เหมือนกับคนตาดีถ่ายภาพด้วยล่ะ...เค้ามองเห็นหรือ... ?
สิ่งแรกที่พวกเราคิดไม่ตกว่า จะให้คนตาบอดถือกล้องได้ตรงได้อย่างไร..? ทดลองจากการวางตำแหน่งมือ วางตำแหน่งคาง วางตำแหน่งอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ทดสอบทดลองมาแล้ว มาจบลงที่ "เจ้าโอ๊ด" นักเรียนตาบอดจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ให้ข้อคิดว่า..."ผมคิดว่าหัวคิ้วของผมทั้งสองข้างต้อ งตรงแน่นอน เมื่อผมเอามุมกล้องมาชนขอบคิ้วทั้งสองพอดี ก็จะได้ภาพในระนาบตรงแน่นอน" จากลักษณะการถือกล้องของคนตาบอดที่เราเห็นนี้ เป็นเอาขอบของกล้องมาทาบระหว่างหัวคิ้วซ้ายและขวา แล้วตั้งคอให้ตรง...คราวนี้แหละไม่ว่าเค้าจะไปถ่ายภา พอะไรที่ไหน ก็จะได้ภาพที่มีระนาบตรง หรือแม้จะเอียงก็เพียงเล็กน้อยแค่นั้น....
การถ่ายภาพตัวเองนี่ก็ต้องแนะนำว่า...ให้เอาขอบเลนส์ มาชิดที่จมูกหรือปลายคาง จากนั้นก็ค่อยๆยืดมือออกตรงๆ เมื่อสุดแขนก็กดชัตเตอร์ได้เลย....ภาพนี้เอาไว้ไปคุย ไปเล่าให้ใครต่อใครว่า... "เค้าได้ไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง" คราวนี้ได้รับเสียงจากน้องๆบอกว่า "คราวนี้จะได้ถ่ายภาพตัวเองบ้าง ไม่ต้องพึ่งใครก็ถ่ายได้ด้วย...."
การถ่ายภาพ "คน" และ "กลุ่มคน" จะใช้ "เสียง" เป็นตัวบอกตำแหน่ง โดยคนที่ถูกถ่ายภาพจะต้องส่งเสียงเรียกก่อนถ่ายภาพ เพื่อบอกว่าตอนนี้คนที่กำลังจะถูกถ่ายภาพอยู่ตำแหน่ง ไหน..? จากนั้นก็ต้องเดินมาจับเดินมาคลำดู ว่ามีทั้งหมดกี่คน ถ้าเป็น 1-2 คน ก็ให้ถือกล้องในแนวตั้ง แล้วถอยห่างออกไป 2-3 ก้าว จะก้าวมากหรือก้าวน้อยนี่ ก็ต้องแล้วแต่ว่าเค้าจะก้าวเล็กหรือก้าวยาว.... เป็นวิธีการวัดระยะจากเมตรมาเป็นก้าวแทน
นอกจากนั้นยังต้องคิดต่อว่าถ้าคนถูกถ่ายภาพยืน ก็ต้องยืน....ถ้าคนถูกถ่ายภาพนั่ง เราก็อาจจะนั่งหรือก้มกล้องลง นี่ก็เป็นอีกเทคนิคนึง ที่ทำให้พวกเค้าสามารถถ่ายภาพใครๆก็ได้ อย่างสวยงามน่าชมจริงๆ
นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า "คนตาบอดถ่ายภาพได้ไม่ยากเลย"
เจ๊ Bb กำลังแนะนำการวางมือในการถ่ายภาพในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช้หัวคิ้วอย่างที่เคยทำ คงเห็นว่าน้องคนนี้ถ่ายภาพได้ตรงแล้ว จึงหาวิธีการใหม่ๆเล่นสนุกกัน
การถ่ายภาพสิ่งของทำอย่างไร...?
สิ่งของไม่มีเสียงเหมือนการถ่ายภาพคน ดังนั้น...ก่อนถ่ายภาพจะต้องเดินไปจับ ไปคลำ ให้รู้ว่าสิ่งที่เราถ่ายภาพนั้นมีความกว้าง ความสูงเท่าไหร่ จากนั้นก็ถอยหลังวัดระยะเหมือนกับการถ่ายภาพคน โดยให้กะระยะก้าวคล้ายๆกับคน ถ้าสิ่งของนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ ก็ถอยหลังมากน้อย ถ้ามีขนาดเล็กก็ถอยหลังน้อยหน่อย อยู่เตี้ยกว่าก็นั่งลงถ่ายภาพ เรื่องแบบนี้อาจจะต้องพึ่งคนตาดีนิดนึง ในกรณีที่เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่มากๆ อาจจะต้องบอกว่าสูงใหญ่แค่ไหน แล้วอาจจะต้องเงยกล้องในองศาเท่าไหร่...? ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องยากๆแบบนี้ คนตาบอดก็สามารถถ่ายภาพได้เช่นกัน
การถ่ายภาพมาโครล่ะ...?
คนตาดียังว่ายากแล้วคนตาบอดจะถ่ายได้อย่างไร...? วิธีการก็เอามือวัดระยะแหละง่ายสุดๆ ให้แบมือออกตรงๆ แล้วเอาปลายนิ้วจิ้มไว้ ที่จุดกึ่งกลางของวัตถุที่จะถ่ายภาพ (ก่อนหน้านั้นต้องคลำก่อนว่าวัตถุนั้นใหญ่เล็กแค่ไหน ..?) จากนั้นก็เอาด้านข้างของกล้องแนบไว้ที่ฝ่ามือ ค่อยๆลากกล้องขึ้นมาจนถึงข้อมือ จากนั้นก็เอามือที่วัดระยะออก แล้วก็กดชัตเตอร์ได้เลย
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการง่ายๆที่ให้ความสุขกับคนตาบอด อย่างหาที่เปรียบไม่ได้เลย...ใครจะคิดว่าคนตาบอดมองไ ม่เห็น สามารถถ่ายภาพได้เหมือนๆกับคนตาดี
จากนั้นเราก็มาร่วมกันทำอัลบั้มภาพให้กับคนตาบอด เป็นการตอบข้อสงสัยอีกข้อนึงว่า.. เมื่อคนตาบอดถ่ายภาพมาแล้ว จะถ่ายทอดให้คนตาดีรับรู้ถึงความรู้สึกในภาพถ่ายได้อ ย่างไร...?
ช่วงเวลาที่คนตาบอดใช้ใจถ่ายภาพ....เราก็จะจดบันทึกไ ว้ เมื่อเอาภาพมา Print ก็จะทำอักษรเบลแปะติดไว้ด้านหลังภาพ
การเล่าเรื่องจะหันภาพให้คนตาดีดู แล้วคลำอักษรเบลเพื่อบอกเล่าถึงความรู้สึก ในครั้งที่ถ่ายภาพนั้น ข้อความนี้เป็นข้อความบันทึกโดยคนตาบอด ยังสามารถเล่าเรื่องได้อีกตามความจดจำในช่วงเวลานั้น
นี่เป็นเครื่องพิมพ์และ "น้องปอ" มือพิมพ์ที่มาช่วยเรา เพราะเราเองก็ไม่มีความสามารถในการพิมพ์อักษรเบลอย่า งนี้แน่นอน เค้าว่ามี สองจุดสี่จุดหกจุดอะไรนั่น....หลังจากพิมพ์แล้ว ก็ต้องพึ่งให้น้องๆเค้าอ่านให้ด้วย เพราะเราจะได้ติดหลังภาพได้ถูกต้อง
ไม่ต้องถามว่าภาพชุดนี้ถ่ายด้วยกล้องอะไร...? ปรับค่า ISO เท่าไหร่...? ถึงได้เห็น Noise กระจุยกระจายอย่างนี้
ทุกภาพใช้กล้อง SLR กับเลนส์คุณภาพสูงทั้งนั้น แล้วใส่ Noise ในขั้นตอนตกแต่งภาพเข้าไปอีก เพื่อเร่งให้เกิดอารมณ์ของความหยาบกร้านมากขึ้น ก็แค่นั้น....
ทั้งหมดนี้จากโครงการสอนถ่ายภาพให้กับคนตาบอด ที่โรงเรียนสันติจินตนา อ.เด่นชัย จ.แพร่ กับทีมงาน Pict4all พร้อมทั้งการสนับสนุนจาก Canon Marketing (Thailand) ที่สนับสนุนกล้องสอนถ่ายภาพ 12 ตัว และบริจาคกล้องให้กับโรงเรียนอีก 3 ตัว พร้อม Printer ขนาดใหญ่ 1 เครื่องกับกระดาษพิมพ์อีกมากมาย นอกจากนี้ยังได้รับความสะดวกสบาย เรื่องการเดินทางและที่พักจากหน่วยทหาร ม.พัน 12 กองพลทหารม้าที่ 1 จัดรถมารับ-ส่งและที่พักให้สำหรับทริปนี้ด้วย
และที่ลืมไม่ได้เลยกับเงินบริจาคของพวกเราหลายๆคน ที่มอบให้คราวมาเรียนถ่ายภาพ แล้วยังแบ่งเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากคอร์สอบรม นำมาบริจาคเป็นเงินสดอีกจำนวนนึง...
ยังมีเรื่องราวดีๆอีกมากมายจะมาเล่าให้ฟังจากโครงการ นี้ อยากให้พวกเราเข้าไปดูกระทู้ที่หลายๆคนได้โพสไปแล้ว ประกอบกับเสียงเพลงจากใจของน้องๆคนตาบอดโรงเรียนนี้. ...ดูช่างซึ้งใจจริงๆนะ
เรื่อง/ภาพ โดย อ.ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย
http://www.pict4all.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น