วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดแสงให้ถูกต้อง โดย มังกรดำ






 
ในบรรยากาศนั้นๆถ้าแสงสวยอยู่แล้ว การวัดแสงให้ถูกต้อง ก็คือทำให้ภาพถ่ายมีแสงเหมือนบรรยากาศจริง
(หรือจะเหยาะผงชูรสเพิ่มลดแสงอีก ก็ตามใจชอบ ถ้าคิดว่าทำแล้วสวยกว่าบรรยากาศแสงจริงที่สวยอยู่แล้ว)





 ใน บรรยากาศแสงนั้นๆถ้าแสงมันไม่สวย หรือแสงมันธรรมดา 
เมื่อวัดแสงที่ถูกต้องแล้ว 
ก็ทำการชดเชยแสง ให้มันต่างไปจากบรรยากาศจริงๆ หรือไม่ก็เติมแสงเข้าไป เช่นใช่แผ่นรีเฟลค การใช้แฟลช ฯลฯ หรือไม่ก็บังแสง เช่นใช้แผ่นวัสดุทึบแสง โปร่งแสง บังแสงบางช่วงบางตอนของพื้นที่ นี่คือเคล็ดลับของเซียนถ่ายภาพ"



 วัดแสงอย่างไร ถึงจะเรียกว่าวัดแสงถูกต้อง ?
พอ ดีมีคนมาปรึกษาเรื่องวัดแสง ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างไรขี้เกียจพิมพ์ใหม่ ก็จะไปยกมาจากบางตอนของเนื้อหาของม้วนเดียวเซียนเล่มใหม่ ที่กำลังทำใหม่หมดทั้งเล่ม มาให้ดู



-----------------------------
ปริมาณของแสง Exposure value (EV)


ปริมาณของแสงที่กำหนดลงในภาพถ่ายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่จะสื่อความหมายของอารมณ์ เรื่องราว

  • ภาพถ่ายแต่ละภาพจึงต้องการปริมาณแสงมากน้อยแตกต่างกัน
  • ภาพบางภาพต้องสร้างให้มีปริมาณแสงในภาพสว่างเจิดจ้าจึงจะสวยงาม
  • ภาพบางภาพต้องการแสงทึมๆ ทึบๆ

-----------------------------

ถูกต้อง VS ถูกใจ

 
ในโลกของศิลปะ ความงามของปริมาณแสงบนภาพถ่ายอาจจะทั้งใช่หรือไม่ใช่ลักษณะภาพถ่ายที่มีปริมาณแสงถูกต้อง” “พอดี Normal”


เพราะแท้จริงภาพถ่ายเชิงศิลปะนั้น ขึ้นอยู่กับการทำอย่างไรจึงจะทำให้ภาพถ่ายได้รับปริมาณแสงที่ถูกใจหรือพอใจทั้งคนถ่ายภาพและคนชมภาพ จึงเป็นเรื่องของคนถ่ายภาพต้องตัดสินใจเองว่า ต้องการสื่อความหมายภาพด้วยการใช้ปริมาณแสงเช่นใด

----------------
ต้องรู้ก่อนว่าถูกต้องอยู่ตรงไหน แล้วเปลี่ยนสภาพแสงให้ถูกใจ
----------------

Exposure Value (EV)

คือค่าของปริมาณแสงจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องการการจับคู่กันของขนาดรูรับแสงและความไวชัตเตอร์คู่ใดคู่หนึ่งแล้ว ทำให้ปริมาณแสงจำนวนนี้สร้างภาพที่มีลักษณะแสงพอดี

กล้องทุกตัวใช้หลักการคำนวณตามกร๊าฟของ EV ในการวัดแสงและคำนวณปริมาณของแสง ซึ่งจะไม่ปรากฎเป็นตัวเลขโชว์ให้เห็นในกล้อง เพราะกล้องถ่ายภาพประมวลผลเป็น EV แล้วแสดงผ่านให้เห็นผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าด้วยการแสดงเป็นค่า stop ของขนาดรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ใน ISO ต่างๆ นั่นเอง


 การกำหนดตั้งค่าให้กล้องถ่ายภาพมีปริมาณแสง (EV) ตกลงบนตำแหน่งโซนที่ 5
โดยมองหาตำแหน่งของพื้นผิววัตถุใดๆ ซึ่งมีค่าเท่าโซนที่ 5 หรือเทียบเคียงใกล้เคียงกันกับโซนที่ 5 ให้มากที่สุด
 
ปรับขนาดรูรับแสง และ/หรือปรับขนาดความไวชัตเตอร์ จนกระทั่งตำแหน่ง Mark ในช่องมองภาพ(หรือจอ LCD) บน Bar Scale ตรงกับเลข

และใช้ค่าแสงที่ปรับตั้งไว้นี้ถ่ายภาพ จะทำให้บรรยากาศโดยรวมทั่วไปในกรอบภาพมีลักษณะใกล้เคียงกับบรรยากาศแสงจริงๆ ที่ตามองเห็นในขณะนั้นได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพื้นผิววัตถุใดที่มีความสว่างเท่าโซนที่ 5 จะปรากฎบนภาพถ่ายว่ามีลักษณะปริมาณแสงใกล้เคียงสภาพแสงจริงๆ ของพื้นผิววัตถุนั้น

 กระดาษเทากลาง Gray Card เป็นกระดาษที่ผลิตออกมาโดยพิมพ์สีเทาซึ่งเป็นน้ำหนักสีที่คำนวณแล้วว่า จะทำให้แสงซึ่งสะท้อนกลับออกไปจาก Gray Card มีปริมาณประมาณ 18 % ของลำแสงที่ล่องลงมากระทบ

กระดาษเทากลาง Gray Card เมื่อเทียบกับ Gray Scale คือ Zone 5

 หากไม่สามารถหาวัตถุใดๆ ทั้งในกรอบภาพและนอกกรอบภาพซึ่งคาดว่าใกล้เคียงกับ Zone 5
 

วิธีสุดท้ายคือ หาวัตถุที่ใกล้เคียงในระดับรองๆ ลงไป แล้วพิจารณาว่าพื้นผิววัตถุนั้นสะท้อนแสงต่างจาก Zone 5 ไปทางสว่างหรือมืด มากน้อยไปกี่ลำดับของโซน
วิธีการนี้เรียกว่า การชดเชยแสง

 ภาพในห้องแกเลอรี่ชุด จตุจักร ทุกภาพล้วนไม่ได้ถ่ายที่บาร์สเกลตรง “0”
ทุกภาพถูกชดเชยแสงให้มืดกว่าหรือสว่างกว่าที่กล้องวัดแสงได้ ก่อนกดชัตเตอร์ทุกครั้ง
  



ผมเคยสรุปว่า “คนที่วัดแสงเก่งที่แท้ คือคนที่คาดเดาเก่งว่าเครื่องวัดแสงจะหลงทางวัดแสงผิดไปกี่สต็อปนั่นเอง”’ ใคร ที่คาดเดาได้แม่นยำว่ากล้องวัดแสงผิดพลาดไปกี่สต็อป นั่นคือจับเคล็ดลับของวิชาเซียนได้ ถ่ายภาพชดเชยแสงไปตามที่คาดนั้นแล้ว จะได้ภาพแสงที่ถูกต้อง



 แต่ เซียนเหนือเซียน คือ ถ่ายภาพให้แสงมากหรือน้อยกว่าแสงที่ถูกต้อง
อันที่จริง มันไม่ใช่วิทยายุทธลึกลับ ยากเย็นอย่างไรเลย เพียงทำความเข้าใจถึงแสงเทากลางทุกคนทำได้




ไม่มีความคิดเห็น: