รายละเอียดของกิจกรรมชมรม :
จากนิตยสารโฟโต้เทค ฉบับที่157 ธันวาคม 2549
คอลัมภ์ สารพันเรื่องถ่ายภาพ
เรื่อง/ภาพ โดย มังกรดำ
เมื่อสองวันก่อน เจ้าพงษ์ ศิษย์รักซึ่งผมเอามายำในโฟโต้เทคฉบับก่อน แวะมาเยี่ยมที่บ้าน ช่วงเวลานั้นบังเอิญผมกำลังติวเรื่องการถ่ายรูปให้กับคนอื่นๆอยู่สามสี่คน จับ พลัดจับพลูคุยไปคุยมาก็มาลงเอาที่เรื่อง Exposure
ในเรื่องนี้ ผมให้ความเห็นว่า ถ้าจะให้เจ๋งละก็ใช้โหมด M-Exporsure จนคล่องสุดๆละก็จะทำให้ใช้โหมด Av S P กลายเป็นเรื่องหมูๆ
แล้วหันไปถามเจ้าพงษ์ว่า จริงไหม?
คำตอบที่ได้คือ “จริงครับ” แล้วเจ้าพงษ์ก็สาธายายตามมาว่า แต่ถ้าใครใช้ M-Exposure เป็น จะหลงติดกับมัน ไม่อยากไปใช้โหมดอื่น
อันที่จริงผมอยากจะบอกว่า M-Exposure ไม่ใช่โหมดที่จะต้องใช้ตะพึดตะพือ ผมของบอกเคล็ดลับเสียเลยตรงนี้ว่า
สุดยอดของการใช้ M=Exposure คือการก้าวไปสู่การใช้ AV และ S(TV) เพื่อเป็นเซียนเหนือเซียน !!
อ้าว ! ไหงเป็นยังงั้น ?
ก่อนเข้าสู่รายละเอียด มาทำความเข้าใจสิ่งที่เกี่ยวพันกันต่อไปนี้แบบย่อๆก่อน
Exposure
คือเรื่องของ M Av S(Tv) P
คือเรื่อง “การกำหนดปริมาณแสง” ให้ตกลงบน CCD กำหนดปริมาณแสงโดยใช้ตัวคุม 3 ตัว
· ISO
· รูรับแสง
· ความไวชัตเตอร์
ISO เลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพแสงในพื้นที่นั้นๆ ด้วยการกำหนดให้ CCD อยู่ในสถานะ “ไว” หรือ Sentitive กับแสงมากหรือน้อย เมื่อตั้ง ISO ไว้ที่ค่าใดค่าหนึ่งแล้ว จากนั้นการแปรเปลี่ยนปริมาณแสง หัวใจของ Exposure หรือ “การกำหนดปริมาณแสง” จะมาอยู่ที่รูรับแสง กับ ความไวชัตเตอร์ เท่านั้น
คำถามว่า ทำไม ต้อง “กำหนดปริมาณแสง”
คำตอบ คือ ภาพถ่ายแต่ละภาพจะต้องให้มีลักษณะ สว่าง มืด เข้ม ต่างๆกันไปแต่ละรูป ภาพบางภาพต้องโชว์ให้เห็นว่าเป็นภาพมีลักษณะสว่างสดใส บางภาพต้องทึบทึม จึงจะให้การกระตุ้นความรู้สึกต่อเนื้อหาของภาพ แกงจืด....แต่เค็มจนซดไม่ลงคอ แกงเผ็ด...แต่จืดสนิท รสชาติอาหารแบบนี้ใครจะบอกได้ว่าอร่อย ลักษณะภาพที่ควรสว่าง เพื่อกระตุ้นความรู้สึกของผู้ดู ถึงวิวทิวทัศน์ของหาดทรายและทะเลสวยงามในหน้าร้อน กลับมืดซีด มัวซัว ก็ไม่ผิอะไรกับการปรุงรสชาติให้อาหารแต่ละชนิด
จึงต้องใช้รูรับแสงและความไวชัตเตอร์ เพื่อ “กำหนดปริมาณแสง” สำหรับภาพแต่ละภาพ
Light Metering
รูรับแสง มีหลายช่องรับแสง ตั้งแต่ f/1.4 ไปจนถึง f/11….f/22… f/64
ความไวชัตเตอร์ มีหลายสปีด ตั้งแต่ B จนถึงชัตเตอร์ 1/125..... 1/500.....1/4000..1/8000....1/12000
รูรับแสงกว้างให้แสงมาก ภาพที่ได้จะสว่างมาก
รูรับแสงน้อย แสงผ่านเสนส์ไปได้น้อย ภาพจะมืดลง
ความไวชัตเตอร์เร็ว แสงผ่านไปโดน CCD แป๊ปเดียว ภาพที่ได้จะสว่างน้อยลง จนถึงกับมืดๆ
เปิด/ปิด ชัตเตอร์ด้วยความไวที่ช้ามากๆ แสงไปโดน CCD นาน ภาพที่ได้จะสว่างมากขึ้น ไปจนถึง Over
แล้วจะใช้รูรับแสง ความไวชัตเตอร์ค่าใดล่ะ จึงจะได้ภาพที่มีปริมาณแสงตามต้องการ?
ทำได้อยู่ 2 วิธี
1. เดาๆ กะๆเอา ว่าจะตั้งรูรับแสงกับชัตเตอร์ไปที่ stop เท่าใด
2. ใช้เครื่องมืดวัดปริมาณแสง
วิธี กะๆเดาๆเอานั้น น่าจะเอาไว้ใช้เมื่อเครื่องวัดแสงในกล้องเจ๊ง ใช้งานไม่ได้ เพราะการคาดเดาด้วยสายตาแม้นว่าจะฝึกมาจนใช้งานได้ดี แต่ในบางสถานะการณ์ ต้องการเน้นแสงเฉพาะพื้นที่ การคาดเดาจะใช้ไม่ค่อยได้ผล การใช้เครื่องวัดแสงซึ่งมาให้แล้วในกล้อง หรือจะซื้อเครื่องวัดแสงแบบมือถือแยกต่างหาก จะแม่นยำกว่าการใช้สายตาคะเนเอามากๆ
แต่เครื่องวัดแสงในกล้อง จะวัดแสงได้แม่นยำมากๆ ว่าในพื้นที่ตรงนั้นต้องตั้งรูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์ที่เท่าไร จะต้องรู้ด้วยว่าพื้นที่ซึ่งกำลังวัดแสงนั้น มีลักษณะอย่างไร
นั่นคือต้องรู้เรื่อง 18% ของการสะท้อนแสงของผิววัตถุ
บอกตรงๆ ไม่เกรงใจบริษัทขายกล้องทั้งหลายว่า อย่าไปเชื่อเลยว่ากล้องตัวเก่งของเขา “ปรับแสงได้แม่นยำทุกสภาวะการณ์”
ขี้จุ๊ เบ่ เบ๊ !
คำอวดอ้างในโบรชัวร์หรือโฆษณา เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ดูดีเท่านั้น ไม่มีกล้องตัวไหนที่ “ปรับแสงได้แม่นยำทุกสภาวะการณ์” หรอก แต่ถ้าจะบอกว่ามันพยายามปรับให้ได้ดีที่สุดเท่าที่มันจะทำได้ละก็ พอจะเชื่อ..... ลองเอากล้องตัวเก่งสุดของเขาถ่ายในระบบ P ย้อนแสงเต็มเปาจ้าเต็มที่ ดูทีรึว่าจะ “ปรับแสงได้แม่นยำทุกสภาวะการณ์” จริงหรือไม่
เครื่องวัดแสงในกล้องไม่ว่าจะเป็นระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดแบ่งพื้นที่ แบบเฉลี่ยหนักกลาง จะวัดหาปริมาณแสงได้แม่นที่สุด
ก็ต่อเมื่อวัดจากวัตถุซึ่งสะท้อนแสงเฉลี่ยๆใกล้เคียง 18% มากที่สุด
Manual Exposure
ปรัชญาของคนถ่ายภาพ ซึ่งชอบใช้การถ่ายภาพระบบนี้ คือ ต้องการสร้างสรรค์ศิลปะบนภาพถ่าย ต้องการกำหนดปริมาณแสงด้วยตนเอง เพื่อสร้างอารมณ์แสงให้กับภาพถ่าย ผู้ที่เข้าถึง M-Exposure นับได้ว่าก้าวย่างสู่ความเป็น “เซียน” เพราะเขารู้ซึ้งถึงหัวใจภาพถ่ายแบบเซียนสามระดับคือ
· ความสว่าง
· ช่วงชัดลึก
· ลักษณะความเคลื่อนไหว
ผู้ถ่ายภาพจะเป็นคนกำหนดเองด้วยความรู้สึก ถึงความเป็นศิลปะในภาพถ่ายว่า
1. จะให้ภาพ มืด ทึม สว่าง สักเท่าไร
2. กำหนดให้ “ช่วงความชัดลึก” กินไปถึงระนาบไหน
3. ให้วัตถุในเฟรมภาพมีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบใด นิ่งสนิท หรือ เสมือนหนึ่งมีความเคลื่อนไหว
ความสว่าง
การที่จะกำหนดให้ภาพมืดหรือสว่าง ด้วยการใช้มิเตอร์วัดแสงจะต้องรู้จักเลือกใช้ Light Metering ว่าจะใช้การวัดแสงในระบบใดสำหรับภาพนั้น
ในบางกรอบภาพ... ควรจะใช้วัดแสงแบบเฉพาะจุด
ในบางกรอบภาพ... ควรใช้วัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง และ
ในบางกรอบภาพ.... ควรใช้วัดแสงแบบแบ่งพื้นที่
จึงจะให้ค่าการวัดแสงที่ใกล้เคียงความแม่นยำที่สุด
ตัวอย่างเช่น พื้นที่ซึ่งมีสภาพแสง “ยุ่งยาก” ซึ่ง
หมายถึงพื้นที่ซึ่งมีแสงคอนทราสต์จัด มีพื้นที่ซึ่งมีแสงสว่างจ้ามากๆ
ปะปนไปกับพื้นที่ซึ่งมีแสงทึบทึม และ พี้นที่ซึ่งมีแสงสว่างสบายๆตา
เฟรมหรือ กรอบภาพแบบนี้ หากใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดได้
จะได้ค่าการวัดแสงซึ่งใกล้เคียงความแม่นยำมากที่สุด
โดยเลือกหาว่าในพื้นที่ทั้งหลายเหล่านั้น
มีส่วนใดที่ใกล้เคียงกับลักษณะการสะท้อนแสง 18% มากที่สุด แล้วใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดลงไปยังพื้นที่ตรงนั้น
ค่าของรูรับแสงและชัตเตอร์ที่วัดได้มา จะเป็นค่ากลางๆ หมายถึง
-
ส่วนใดๆในพื้นที่ของภาพมีปริมาณแสงสะท้อน ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เราวัด และคาดว่าใกล้เคียง 18% ส่วนนั้นจะเป็นส่วนที่ถ่ายภาพออกมาแล้ว ได้ความสว่างสบายตาแสงพอดีๆ
-
ส่วน ใดของพื้นที่ภาพมีความสว่าง ก็จะปรากฏเป็นส่วนสว่างในภาพ ตรงไหนสว่างจ้ามาก ก็กลายเป็นส่วนของภาพที่ขาวเวอร์จนไม่เห็นรายละเอียดอะไรเลย
-
ส่วนใดๆของภาพมีลักษณะสลัวๆ ก็จะปรากฎในภาพซึ่งถ่ายมาในพื้นที่สลัวทึมๆ
-
ตรงไหนทึบมากๆ จะเป็นส่วนที่ดำสนิทจนไม่เห็นรายละเอียด
เรี
ยกได้ว่า ภาพถ่ายที่ได้มา จะมีลักษณะของแสงใกล้เคียงกับพื้นที่จริง
(อันนี้ต้องเน้นว่ามันมีปัจจัยแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากสมรรถภาพของ CCD และกล้องดิจิตอล มันจะให้รายละเอียดใกล้เคียงเฉพาะส่วนที่ใกล้เคียง 18%
ส่วนใดของพื้นที่จริงสว่างจ้ามากๆหรือมืดทึมมากๆ
ภาพถ่ายที่ได้จะขาดรายละเอียดจนห่างไกลความจริงจากพื้นที่จริงไปมากๆ
อันนั้นเป็นเรื่องของ
Dynamic
Range ค่อยว่ากันอีกทีเมื่อมีโอกาสต่อไป)
เอาละ สมมุติว่าเจ้าของภาพถ่ายพอใจตรงนี้แล้ว ว่าได้ภาพแสงใกล้เคียงกับพื้นที่จริง เรื่องจะจบลงตรงนี้
แต่ถ้าคนถ่ายภาพบอกว่า...ไม่เอา อยากให้ภาพดูมืดขึ้นสักหน่อย หรือ สว่างขึ้นสักหน่อย จะได้อารมณ์แสง อารมณ์ศิลปะ ตรงนี้ละ...ใช่เลย
นี่คือหัวใจของการใช้ M-Exposure
ย้อนกลับไปตั้งหลักใหม่ จากพื้นที่ซึ่งมีสภาพแสงยุ่งยากข้างต้น เมื่องมองหาตำแหน่งพื้นที่จริงว่าตรงไหนน่าจะใกล้เคียงกับ 18% ก็วัดแสงเฉพาะจุดมันลงไปตรงนั้น
จะได้ค่า f/stop และความเร็วชัตเตอร์มาคู่หนึ่ง
ที่นี้ลองมองดูสิว่า
A. อยากให้ภาพทั้งภาพมืดลงไปจากความเป็นจริงหรือไม่? หากต้องการก็ทำการปรับรูรับแสงให้แคบลง หรือปรับชัตเตอร์ให้ไวขึ้น
อยากให้ภาพทั้งภาพสว่างขึ้นหรือไม่ หากต้องการก็ทำการปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้น หรือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง
แต่ทำอย่างนี้มันจะสว่างก็สว่างทั้งภาพ หากมืดก็มืดทั้งภาพ ซึ่งอาจมีผลทำให้ “จุดเด่น” ที่เราต้องการในภาพ ได้แสง มืด-สว่าง ในปริมาณที่ไม่เหมาะไม่สวย
B. เน้นปริมาณแสงที่จุดเด่นเป็นหลัก อันนี้ยากขึ้นมาหน่อย ให้เปรียบเทียบระหว่าง “แสงในจุดเด่นที่หมายตา” กับ “ พื้นที่ซึ่งวัดแสงเฉพาะจุดลงไป”
ว่ามีลักษณะปริมาณแสง แตกต่างกันอย่างไร
สมมุติว่า แสงที่จุดเด่นมีความสว่างเท่าๆกับตำแหน่งวัดแสง อย่างนี้ไม่ยาก เปลี่ยนรูรับแสง เปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ให้กับพื้นที่วัดแสงเท่าไร
พื้นที่บริเวณจุดเด่นจะเปลี่ยนไปตามนั้น พอๆกัน
แต่ถ้าแสงตรงจุดเด่นต่างกันกับพื้นที่วัดแสง ( คือที่จุดเด่นสะท้อนแสงต่างไปจาก 18% ) จะต้องคาดคะเนด้วยว่าจุดเด่นมันต่างไปจาก 18% กี่สตอป เช่น
วัดแสงในพื้นที่ ดาดว่าใกล้เคียงกับ 18% ได้ f/5.6 S=1/125 และคาดว่าจุดเด่นน่าจะมืด ต่างไปจาเทากลาง 18% = 2 stop
หากใช้ค่า f/5.6 S=1/125 ถ่ายภาพนี้ จุดเด่นจะมืดไป 2 stop
ถ้าอยากให้จุดเด่นสว่างขึ้น 1 stop ก็ต้องถ่ายภาพนี้ที่ f/4 S=1/125 หรือ f/5.6 S=1/60 (แต่ต้องยอมรับด้วยว่า พื้นที่โดยรอบจุดเด่นจะมีสภาพแสงแตกต่างไปจากพื้นที่จริง)
การกำหนดให้จุดเด่นในภาพ ได้รับปริมาณแสงที่เหมาะสม ทำให้คุณค่าทางศิลปะปรากฏชัดเจนขึ้นทันที ปริมาณแสงบนจุดเด่นมีอิทธิพลเหนือองค์ประกอบเสริมจุดเด่นอื่นๆ หาก
แสงบนจุดเด่นสวยแล้ว ก็เรียกได้ว่างานศิลปะภาพถ่ายชิ้นนั้น
ประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่ง หากว่าส่วนประกอบ เค้าโครง รูปทรง
เรื่องราวของจุดเด่น แม้จะสวย
แต่แสงซึ่งสาดมาบนจุดเด่นเป็นระดับปริมาณแสงธรรมดาๆ ภาพถ่ายจะลดคุณค่าลง
นอกจากจุดเด่น พื้นที่โดยรอบทั้งหมดของเฟรม ก็ต้องมีปริมาณแสงที่สมดุลในเชิงศิลปะ บาง
ครั้งจึงต้องเฉลี่ยยอมลดหรือเพิ่มแสงของจุดเด่นลงบ้างเล็กน้อย
เพื่อเลี้ยงให้เห็นรายละเอียดบนพื้นที่รอบๆจุดเด่นบ้าง (
เราอาจใช้โปรแกรมตกแต่งภาพช่วยลด/เพิ่ม แสงได้ แต่นั่นต้องเข้าใจและมีจุดหมายในการเพิ่ม/ลด ปริมาณแสงในพื้นที่ต่าง)
การใช้ M-Exposure จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการให้แสงสว่างกับภาพถ่าย ตามที่ว่าเอาไว้ข้างบนนี้
ช่วงชัดลึก
ด้วยความจริงที่ว่า ภาพถ่ายเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นบนผิวระนาบแบนๆ ภาพถ่ายจึงมีเพียง 2 มิติ คือ ความกว้างกับความสูง (สมัยนี้เราไม่เรียกภาพถ่ายเป็นด้านกว้างกับด้านยาว) และ
ตัวการสำคัญที่จะทำให้ภาพถ่ายดูเสมือนว่ามีมิติที่สาม
ซึ่งเป็นมิติเสมือนคล้ายกับว่าภาพถ่ายนี้มีระนาบใกล้เข้ามา
เสมือนว่ามีระนาบไกลออกไป รู้สึกเสมือนว่าวัตถุต่างๆในภาพถ่ายมี “รูปทรง” คือมีความหนา ความลึก ส่วนนูนโค้งเว้า ก็คือผลมาจากขนาดของรูรับแสงนี่เอง
ตามที่รู้กันมาแล้ว รูรับแสงยิ่งแคบ ช่วงชัดลึกยิ่งมีมากขึ้น
รูรับแสงกว้างเท่าไหร่ ช่วงชัดลึกยิ่งน้อยลงเท่านั้น
มีคนถามมาว่า มีตารางบอกค่าไหมว่า ขนาดความยาวของเลนส์ต่างๆ คู่กับรูรับแสงขนาดต่างๆ จะให้ความชัดลึกจากไหนถึงไหน
คำตอบคือ มี แต่ไม่แนะนำให้สนใจจดจำ เพราะแต่ละคู่แต่ละค่ามันมีมากมายเกินกว่าจะมานั่งท่องจำกัน กล้องที่มีระบบเช็คความชัดลึกนี่แหละ คือ ตัวที่น่าซื้อมาใช้ให้มากที่สุด แต่น่าแปลกใจที่ว่ากล้องดิจิตอลหลายๆตัวมีฟังก์ชั่นฟุ่มเฟือย ไร้สาระแถมมาให้มากมาย แต่ฟังก์ชั่นสำคัญความชัดลึกกลับไม่มีมาให้ ดังนั้นใครมีระบบเช็คความชัดลึกในกล้องใช้มันให้คุ้ม ใช้ให้เป็นนิสัยประจำตัวไปเลย ว่าก่อนกดชัตเตอร์ต้องเช็คความชัดลึก
อัน
ที่จริงระหว่างการวัดแสงกับการเช็คความชัดลึก ควรจะเช็คความชัดลึกเสียก่อน
ได้ค่ารูรับแสงที่เท่าไรที่ให้ช่วงความชัดลึกที่เหมาะสมตามต้องการ
จึงเอาค่ารูรับแสงนั้นไปวัดแสงหาค่าความไวชัตเตอร์ต่อไป (
ต้องไม่ลืมด้วยว่า ความชัดลึกไม่ได้ขึ้นกับรูรับแสงอย่างเดียว
มันยังขึ้นกับขนาดของเลนส์และระยะทางปรับชัดอีกด้วย)
การใช้ M-Exposure คือการถ่ายภาพด้วยการตั้งรูรับแสงด้วยมือคนถ่ายภาพเอง กำหนดว่าจะใช้รูรับแสงที่ f/stop
เท่าไหร่ และรูรับแสงขนาดนั้นเมื่อเช็คความชัดลึกแล้ว
ได้เห็นก่อนกดชัตเตอร์ว่าชัดจากระนาบไหนไปถึงไหน เพราะภาพถ่ายแต่ละภาพ
หากจะสื่อความทางศิลปะต้องการความชัดลึกไม่เหมือนกัน เช่น ภาพดอกไม้
หลายคนอาจจะตั้งตุ๊กตาเอาไว้ในใจว่าจะต้องให้ดอกเด่นชัดที่สุด และ ดอกอื่นๆ
“กระจาย” คือเบลอ เนียน กระจายหายไปไม่เห็นรูปทรงดอกซึ่งเป็นจุดเด่น ได้เดนสุดๆสมใจ แต่ภาพอย่างนี้สวยจริงๆไปทุกภาพละหรือ ?
ลอง
เช็คความชัดลึก ปรับรูรับแสงให้แคบกว่าเดิมเล็กน้อย
ให้เห็นรายละเอียดของดอกอื่นๆบ้าง เห็นฉากหลัง และ สภาพแวดล้อมบ้าง
อาจจะดูดีกว่า
นี่แหละคือ จุดเด่นของการใช้ M-Exposure ในการกำหนดมิติเสมือนให้ภาพถ่าย ด้วยการกำหนดขนาดของรูรับแสง
ลักษณะความเคลื่อนไหว
ภาพถ่ายเป็น Still Picture มันนิ่งของมันอยู่อย่างนั้น ต่างจาก Motion Picture
ซึ่งเอาภาพนิ่งหลายๆภาพมาเคลื่อนที่ต่อเนื่องกัน
จนเสมือนว่าเป็นภาพเคลื่อนไหว
อาการนิ่งของภาพถ่ายอาจจะเหมาะกับการถ่ายภาพบางช็อต เช่น ภาพทิวทัศน์
แต่หากต้องการสื่อภาพถ่ายในบรรยากาศที่มีลมกระโชกรุนแรง ต้นไม่ไหวเอนลู่ลม
ใบไม้พลิ้วปลิวคว้าง ภาพนิ่งๆจะทำอย่างไรจึงจะสื่อความรู้สึกเคลื่อนไหว
ชัตเตอร์ช้า จะช่วยได้ในกรณีข้างต้น วัตถุใดในภาพที่นิ่งอยู่กับที่ เช่น เสาไฟ ลำ
ต้นของต้นไม้ใหญ่ จะนิ่ง ส่วนใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ สายไฟ
จะกลายเป็นลักษณะเบลอๆไหวๆ หลอดตาคนดูภาพเสมือนหนึ่งว่าเห็นของเหล่านั้น
เคลื่อนไหวจริงๆ
กลับกัน ภาพถ่ายบางภาพต้องการการหยุดนิ่ง นิ่งแบบนิ่งสนิทจริงๆ ทำได้ด้วยการใช้ชัตเตอร์ให้สูงขึ้น
หาก
ในภาพถ่ายเน้นไปที่ลักษณะความเคลื่อนไหว
เพียงวัดแสงโดยการเลือกรูรับแสงให้ได้ค่าที่สัมพันธ์กันกับชัตเตอร์ที่ใช้
แต่การทำเพียงเท่านี้ จะได้ภาพซึ่งแสงธรรมดาๆ
และอาจได้ช่วงความชัดที่ไม่เอาไหนเลย จึง
อยากแนะนำว่าไม่ควรละเลยกับขนาดของรูรับแสงโดยทำการตรวจสอบความชัดลึกด้วย
อาจจะต้องยอมเสียลักษณะความเคลื่อนไหวที่ต้องการไปบ้างเล็กน้อย
เพื่อให้ได้มาซึ่งช่วงความลึก
หรือ
หากต้องการตรึงค่าความเคลื่อนไหว
ด้วยความไวชัตเตอร์เท่าเดิมที่หมายตาเอาไว้
และต้องการความชัดลึกจากรูรับแสง แต่ไม่ได้ปริมาณแสง พอดี/มาก/น้อย
ตามต้องการ เช่นนั้นต้องหันไปปรับ ISOแทน แต่นั่นหมายถึงอาจได้ Noise ตามมาจากากรใช้ ISO ที่สูงขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ นับว่าเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งในการเลือกใช้ M-Exposure
สุดยอดเซียน การใช้ M-Exposure คือการก้าวไปสู่ AV และ S(TV)
มีคำถามว่า “ทำไมเราจะต้องทำอะไรด้วยตนเองไปเสียทุกเรื่อง”
เท
คโนโลยี่วันนี้ไปไกลมากๆ ด้วยเทคโนโลยี่ดิจิตอลเข้าไปสั่งการระบบต่างๆ
แต่สำหรับการถ่ายภาพ ผมไม่นิยมชมชอบไปกับความอัตโนมัติของ 0 กับ 1
และโปรเซสเซอร์แบบงมงาย
P - ระบบถ่ายภาพแบบโปรแกรม กล้องวัดแสงเอง เลือกรูรับแสงและชัตเตอร์เอง ภาพถ่ายสวยงามจากระบบโปรแกรม ไม่ได้ทำให้น่าเกิดความชื่นชมในฝีมือตนเอง
กล้องมันถ่ายภาพ ไม่ใช่ตัวเจ้าของกล้องถ่ายภาพ
คนที่ควรขึ้นไปยืนแป้นรับเหรียญรางวัล หรือเสียงปรบมือชมเชย คือกล้องตัวนั้น ไม่ใช่คนกดชัตเตอร์
แต่ ก็ใช่ว่าน่าจะปฏิเสธเทคโนโลยี่ ควรใช้ P เมื่อถ่ายภาพบันทึกง่าย เช่น งานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ภาพบันทึกทัศนาจรในช่วงเวลาที่อยากสนุกกับสิ่งอื่นๆ
และไม่ต้องมาพะวงกับการขะมักเขม้นกับการวัดแสง เช็คความชัดลึก ตั้งค่า ISO รูรับแสง ชัตเตอร์ และระยะโฟกัส
ไม่ควรปฏิเสธว่าบางครั้งในการทำอะไรๆที่เป็น Manual แล้ว ให้เครื่องมือกลไกช่วยหาช่วยทำแบบโปรแกรม ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
อย่างเช่น ถ่าย
ภาพดอกไม้ สิ่งที่เป็นสาระสำคัญที่สุดนอกจาการจัดองค์ประกอบ สภาพแสง
ตำแหน่งปรับชัด และความชัดลึก
ความเร็วชัตเตอร์ที่จะมาเข้าคู่กับรูรับแสงไม่ใช่สาระสำคัญ
อันนี้จะยกหน้าที่ให้โปรแกรมของกล้อง ช่วยหาและตั้งค่าชัตเตอร์ให้แบบอัตโนมัติ แค่ชำเลืองดูจากช่องมองภาพหรือจอ LCD ว่าค่าชัตเตอร์อัตโนมัติที่กล้องหามาให้นั้น มันเร็วเกินความต้องการหรือไม่ หรือ ช้าไปจนอาจได้ภาพสั่นไหวหรือเปล่า ช้าไป-เร็วไป อาจยอลดหรือเพิ่มความชัดลึก เพื่อให้ได้สปีดชัตเตอร์ตามที่พอจะใช้ได้ ก็หันไปปรับ ISO เพื่อให้กล้องเลือกใช้ชัตเตอร์ค่าใหม่ที่เหมาะสม
ระบบนี้คือการถ่ายภาพแบบระบบ AV เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในลักษณะที่มีจุดมุ่งหมาย เน้นความชัดลุกเป็นหลัก
ส่วนช่างภาพที่ต้องการเน้นการควบคุมความไวของวัตถุเป็นหลัก ให้ใช้ S(TV) คือเลือกความเร็วชัตเตอร์ก่อน กล้องจะเลือกขนาดรูรับแสงให้อัตโนมัติ
การปรับชดเชยแสง Av S(Tv)
ถ้าเป็นในระบบ M-Exposure ปรับให้แสงมากหรือน้อยว่าที่วัดได้ ด้วยการตั้งรูรับแสงเอง ชัตเตอร์เอง
แต่ Av เมื่อกำหนดเลือกขนาดรูรับแสงแล้ว จะปรับชัตเอตร์เมื่อต้องากรให้ภาพมืดหรือสว่างต่างๆปจากค่าการวัดแสง ทำไม่ได้
และ S(Tv) เมื่อกำหนดเลือกความไวม่านชัตเตอร์แล้ว จะปรับขนาดรูรับแสง เพื่อต้องการให้ภาพมืดหรือสว่างต่างไปจากค่าการวัดแสง ทำไม่ได้
Av , S(Tv) จะปรับชดเชยแสงต้องไปที่ฟังก์ชั่นชดเชยแสงที่มีแยกมาให้ต่างหาก โดยมีหลักว่า
ในระบบ Av กล้อง
จะรับรู้ในขั้นตอนแรกว่า
ใช้ชัตเตอร์ความเร็วเท่าไรที่เหมาะสมกับรูรับแสงนั้น
และขั้นที่สองเพื่อชดเชยแสง กล้องจะปรับชัตเตอร์ให้มาก-น้อย
ไปจากโปรแกรมที่ตั้ง ชดเชย +/- กี่สตอป
ในระบบ S(Tv) กล้อง
จะรับรู้ในขั้นตอนแรกว่า รูรับแสงขนาดใดเหมาะสมกับชัตเตอร์นั้น
และขั้นที่สองเพื่อชดเชยแสงกล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้ใหญ่-เล็ก
ตามโปรแกรมที่ตั้งชดเชย +/- กี่สตอบ
วิธีการเลือกรูรับแสงเอง แล้วให้กล้องเลือกชัตเอตร์อัตโนมัติ ที่เรียกว่า Av
หรือการเลือกชัตเตอร์เองแล้วให้กล้องเลือกรูรับแสงที่เหมาะสมที่เรียกว่า Tv หรือ S
Av Tv หรือ S จึงเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติที่น่าใช้ สำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งได้ทั้งปริมาณแสงตามต้องการ ได้ช่วงความชัดลึก หรือ ลักษณะการเคลื่อนไหวตามต้องการ
ไม่เสียเวลาต้องปรับหาเองทั้งสองอย่างคือ ขนาดรูรับแสง และชัตเตอร์
คนที่ใช้ M-Exposure จนคล่องและชำนาญ จึงน่าจะหันมาใช้ Av หรือ S(Tv)
แต่ยังไงขอแนะนำว่า หัดใช้ M-Exposure ให้อยู่หมัดเสียก่อน จึงค่อยข้ามขั้นมาสู่ Av ,S(Tv)
เซียนจริงๆน่ะ เขาใช้ M-Exposure
แต่เซียนเหนือเซียนเขาใช้ Av S(Tv)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น