วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

How to...#2 สอนคนตาบอดถ่ายภาพอย่างมีหลักการ


ทริปเดินทางไปสอนถ่ายภาพให้กับคนตาบอดครั้งล่าสุดเมื ่อวันที่ 15-17 ก.ค. 54 ที่ "ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ" จ.หนองคาย คราวนี้ได้รับการต้อนรับและสนับสนุนจาก กศน. จ.หนองคายเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องอาหารการกิน เรื่องที่พัก เรื่องพาหนะ แล้วก็เรื่อง "กำลังใจ"


การเดินทางมาสอนในครั้งนี้ แตกต่างจากคราวก่อนๆเยอะ เพราะผู้ที่เข้ามาเรียนถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เด็กๆ แต่เป็นผู้ใหญ่ที่หวังผลถึงการนำไปใช้ในการหาเลี้ยงช ีพได้ด้วย ทำให้พวกเราต้องเตรียมตัวเตรียมใจกันมาก่อนว่า คราวนี้ความคาดหวังสูงนะ คิดไปว่าบรรยากาศจะซีเรียสในขณะที่เราสอนกันหรือเปล่ า...?


แต่แล้วทริปนี้กลับได้ทั้งเสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน ความสุข โดยเฉพาะมีนักเรียนตาบอดบางคนที่มีความบกพร่องทางสมอ ง เรียกว่าไม่ถึงกับปัญญาอ่อนแต่ก็เกือบๆล่ะ..!!!


แล้วทริปนี้พวกเราได้อะไรบ้าง...?


หมายเหตุ อ่านตอนแรก "How to...!! ไขปัญหา...สอนคนตาบอดถ่ายภาพอย่างไร...?



 How to คราวนี้ขอนำเสนอการถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาด "กว้าง" เราจะแนะนำให้คนตาบอดถ่ายภาพได้อย่างไร..?

ทริปนี้ได้ทดสอบกับ "แต๊ป" นักเรียนตาบอดคนนี้ชอบเรื่องเทคโนโลยี และสนใจมากๆที่จะมาเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ แบบนี้นอกจากจะให้วิธีการถ่ายภาพอย่างมีหลักการแล้ว ยังให้เรื่อง "ศิลปะ" และแนวคิดในการถ่ายภาพอีกเยอะเลย...!!

การถ่ายภาพวัตถุที่มีความกว้างแบบนี้มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ต้องใช้สมาธิในการนับก้าวนิดนึง
ขั้นแรก...ให้เริ่มต้นเดินนับก้าวจากตำแหน่งซ้ายสุดไ ปขวาสุดของสิ่งนั้นๆ แล้วจำไว้ว่านับได้ทั้งหมดกี่ก้าว ข้อควรระวังในการเดินนับก้าว ในแต่ละก้าวจะต้องให้เท่าๆกัน อย่าก้าวสั้นบ้างยาวบ้าง แบบนี้สมาธิต้องดี


ขั้นที่สอง...เมื่อรู้ว่าจากซ้ายไปขวาทั้งหมดกี่ก้าว ก็ให้ "หาร 2" แบ่งครึ่งให้ถูก
....อย่างเช่นรถสีขาวๆคันนี้...นับได้ทั้งหมด 6 ก้าว หาร 2 แล้วก็คือ 3 ก้าว
....ทำไมต้องหาร 2 ล่ะ..? การหาร 2 ก็เพื่อหาจุดกึ่งกลางของวัตถุที่เราจะถ่ายภาพนั่นเอง


ขั้นที่สาม...เอาล่ะ..!! เมื่อรู้แล้วว่ารถคันนี้ตรงกึ่งกลางคือ 3 ก้าว เราจะต้องให้เค้าเดินนับก้าวย้อนกลับไปอีก 3 ก้าว แค่นี้เราก็จะได้กึ่งกลางของวัตถุนั้นแล้ว

นี่แค่เริ่มต้น....ยังมีต่อ






 เมื่อได้กึ่งกลางของรถสีขาวคันนี้แล้ว ก็มาถึงการหาระยะห่างสำหรับถ่ายภาพกันล่ะ

ขั้นที่สี่...ขั้นตอนนี้จะต้องถอยหลังจากตัวรถสีขาว เพื่อทำการถ่ายภาพกัน วิธีคำนวณก็ไม่ยากแต่ต้องบวก "กึ๋น" คนสอนกันหน่อย จากจำนวนก้าวของความกว้างของรถคันนี้ทั้งหมด 6 ก้าว จากขั้นตอนแรก เราก็ให้ถอยหลังออกมา 6 ก้าว แล้วต้อง "บวกก้าวเพิ่ม" แต่จะเพิ่มเท่าไหร่กันล่ะ...?

ขั้นที่ห้า...หลังจากขั้นที่สี่ได้ถอยหลัง 6 ก้าวตามจำนวนความกว้างของวัตถุจริงๆแล้ว การบวกเพิ่มอีก 3..4..5..6 ก้าวเนี่ยต้องขึ้นอยู่กับ Focal Length ของเลนส์กล้องนั้นๆด้วย อย่างกล้องของแต๊ป มี Focal Length 38 mm. ก็ต้องบวกเพิ่มอีก 3-4 ก้าว จากขั้นตอนนี้จะได้จำนวนก้าวจากเดิม 6 บวกอีก 3 ทั้งหมดจึงต้องถอยหลัง 9 ก้าว

ขั้นที่หก...นี่เผื่อเหนียว หลังจากขั้นที่ห้าเราถอยหลังจากจำนวนก้าวที่บวกไปแล้ ว ภาพต่อมาให้ถอยหลังเพิ่มอีกก้าวนึงด้วย เรียกว่ากันพลาดว่างั้นเถอะ...

เทคนิคที่ว่านี้ก็คล้ายๆกับการถ่ายภาพคนหลายๆคน หรือภาพหมู่นั่นเอง เพียงแต่ว่าการถ่ายภาพคนเค้าสามารถคลำ แล้วนับจำนวนจนรู้ว่า มีทั้งหมดกี่คน แล้วที่อยู่กึ่งกลางคือใคร บางครั้งพวกคนตาดีที่มาเป็นแบบถ่ายภาพหมู่ ก็บอกซะเองเลยว่าตรงกลางอยู่ที่ไหน...? แต่กับการถ่ายภาพวัตถุที่ไม่มีเสียงร้องเรียกแบบนี้ก ็ต้องใช้วิธีการที่ว่าแบบนี้แหละ






 มาดูการถ่ายภาพ Macro กันต่อ หลังจากที่เคยแนะนำไปแล้วเมื่อคราวก่อน มาดูกันจะๆในอีกมุมมองนึงในคราวนี้

ขั้นตอนแรกจะเห็นว่า มือซ้าย... ใช้วัดระยะ

ขั้นตอนต่อมา...ก็กดปุ่มชัตเตอร์ในตำแหน่งโฟกัสภาพ

ขั้นตอนสุดท้ายนี่สำคัญ... ค่อยๆดึงมือซ้ายออก แล้วก็กดชัตเตอร์ย้ำอีกครั้ง เพื่อบันทึกภาพ

วิธีแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการถ่ายภาพที่ต้อง "ลดความสั่นไหว" หลังจากกดปุ่มโฟกัสภาพแล้ว ค่อยๆดึงมือซ้ายออก ให้หายใจเข้าไปพร้อมๆกันเลย แล้ว "กลั้นใจ" เมื่อดึงมือซ้ายออกพ้นเฟรมภาพไปแล้ว ให้กดชัตเตอร์เบาๆ จากนั้นค่อยหายใจออกได้ แบบนี้ต้องฝึกๆๆๆๆๆ เพราะถ้าใช้เวลานานเกินไปอาจจะขาดอากาศหายใจได้นะ






นี่เป็นวิธีการถ่ายภาพคนปกติทั่วไป อย่างที่เคยแนะนำกันไปแล้ว มาดูกันชัดๆเป็นขั้นๆอีกครั้ง กันลืม..!!

ขั้นแรก....ก็ไปจับๆลูบๆคลำๆ ให้รู้ตำแหน่ง ให้รู้ความสูง ให้รู้ความกว้าง จะได้รู้ว่าภาพนี้ควรถ่ายภาพ แนวตั้ง หรือ แนวนอน

ขั้นที่สอง....เริ่มเดินถอยหลัง แบบสูตร Focal Length 38 mm. นี้การถ่ายภาพ 1-2 คน ให้ถอย 2-3 ก้าว ถ้าเป็นเลนส์ 28 mm. ของหลายๆคน อาจจะถอยน้อยกว่านี้ 1 ก้าว แต่ทั้งนี้..ทั้งนั้น อยู่ที่จังหวะการก้าวของแต่ละคนที่ ก้าวสั้น ก้าวยาวไม่เหมือนกัน อย่างนี้อยู่ที่กึ๋นคนสอนอีกเช่นกัน

ขั้นที่สาม....การเดินก้าวถอยหลังแบบตรงๆ ทำง่ายๆเลย ให้ก้าวเท้านำไป 1 ก้าว แล้วก้าวตามให้ชิดกับเท้าแรกที่นำไป แบบนี้นับ 1 ก้าว จากนั้นก็ก้าวชิด...ก้าวชิด....ก้าวชิด...แบบนี้ไปจน ครบ การเดินก้าว..ก้าว...ก้าว...ไปเลยทีเดียวสังเกตมาแล้ วว่า จะถอยหลังไม่เป็นเส้นตรง จะโค้งบ้าง ทะแยงบ้าง ทำให้ตำแหน่งการถ่ายภาพผิดเพี้ยนไป ไม่เชื่อลองถอยหลังดูกันเองเลยก็ได้ ลืมตานี่แหละยังถอยหลังไม่ตรงเลย





จากขั้นตอนและวิธีการทั้งหมดนี้ ทำให้การถ่ายภาพของคนตาบอด มีแนวทางไม่มั่ว มีวิธีการที่แน่นอน ผลที่ได้จึงออกมาอย่างที่หลายๆคนต้องทึ่ง

จะไม่ให้ทึ่งได้อย่างไรกันล่ะ.... วันที่พาไปออกทริปเห็นมีหลายๆคน สนใจกันมาก มาดูด้วยความแปลกใจ มาพูดคุยเพื่อให้หายข้อข้องใจ

นี่เป็นประสบการณ์ที่พวกเราได้การเรียนรู้มาจาก "คนตาบอด" กลุ่มคนที่หลายๆคนคิดว่า ไม่น่าจะถ่ายภาพได้

ตอนต่อไป จะเป็นการออกทริปถ่ายภาพกันที่ "ศาลาแก้วกู่" และ "วัดโพธิ์ชัย" พร้อมกับความรู้สึกดีๆอีกมากมาย พรุ่งนี้ๆ.... มาแน่นอน ที่กระทู้นี้

** หัวใจถ่ายภาพ...ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ จ.หนองคาย **







 เรื่อง / ภาพ โดย อ.ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย


How to #1 ...!! ไขปัญหา...สอนคนตาบอดถ่ายภาพอย่างไร...?


หลังจากทีมงาน Pict4all เริ่มโครงการสอนถ่ายภาพให้กับคนตาบอด ก็มีหลายๆเสียงถามมาอย่างมากมายว่า เรามีวิธีการอย่างไรให้คนตาบอดสามารถถ่ายภาพได้ เหมือนๆกับคนตาดี

ขั้นตอนแรกเลยเมื่อได้กล้องไปแล้ว ก็ต้องให้คนตาบอดหัดถอดแบตเตอรี่และ Memory Card ซึ่งเราต้องศึกษาก่อนว่า กล้องที่เค้าใช้นั้นมีลักษณะของแบตเตอรี่และการ์ดอย่ างไร...?
จากนั้นก็มาดูที่ตัวกล้องว่า เมื่อเปิดฝาปิดแบตเตอรี่และการ์ดแล้ว ตัวกล้องจะมีลักษณะอย่างไร...เช่น ลักษณะของฝาเปิด-ปิดตั้งขึ้นมา หรือเลื่อนเข้าเลื่อนออก

ตรงนี้แหละที่เราต้องบอกให้คนตาบอดคลำรูปลักษณ์ของกล ้องไว้ แล้วคลำรูปลักษณ์ของแบตเตอรี่กับการ์ด ดูว่าตรงไหนมีลักษณะแปลกไป เช่น เป็นร่องของขั้วแบตเตอรี่หรือเป็นเหลี่ยมตัดของตัวกา ร์ด จากนั้นก็ให้เอาตำแหน่งของความต่างนี่แหละมาประกอบมุ มกับฝาเปิด-ปิด แค่นี้ก็จะได้หลักในการจดจำแล้วว่า เมื่อถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่และการ์ดจะกลับมาใส่ใหม่ให้ ถูกต้องได้อย่างไร...?

ไม่น่าเชื่อว่าการสอนให้กับเด็กตาบอดในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดห่างไกลอย่างที่โรงเรียนสันติจินตนา อ.เด่นชัย จ.แพร่ เด็กๆสามารถทำได้เพียงแค่ห้าหกนาทีเท่านั้นก็สามารถใ ส่ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว




สงสัยหรือไม่ว่าทำไมคนตาบอดต้องเอากล้องแนบไว้ที่ "ตา" เหมือนกับคนตาดีถ่ายภาพด้วยล่ะ...เค้ามองเห็นหรือ... ?

สิ่งแรกที่พวกเราคิดไม่ตกว่า จะให้คนตาบอดถือกล้องได้ตรงได้อย่างไร..? ทดลองจากการวางตำแหน่งมือ วางตำแหน่งคาง วางตำแหน่งอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ทดสอบทดลองมาแล้ว มาจบลงที่ "เจ้าโอ๊ด" นักเรียนตาบอดจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ให้ข้อคิดว่า..."ผมคิดว่าหัวคิ้วของผมทั้งสองข้างต้อ งตรงแน่นอน เมื่อผมเอามุมกล้องมาชนขอบคิ้วทั้งสองพอดี ก็จะได้ภาพในระนาบตรงแน่นอน" จากลักษณะการถือกล้องของคนตาบอดที่เราเห็นนี้ เป็นเอาขอบของกล้องมาทาบระหว่างหัวคิ้วซ้ายและขวา แล้วตั้งคอให้ตรง...คราวนี้แหละไม่ว่าเค้าจะไปถ่ายภา พอะไรที่ไหน ก็จะได้ภาพที่มีระนาบตรง หรือแม้จะเอียงก็เพียงเล็กน้อยแค่นั้น.... 




การถ่ายภาพตัวเองนี่ก็ต้องแนะนำว่า...ให้เอาขอบเลนส์ มาชิดที่จมูกหรือปลายคาง จากนั้นก็ค่อยๆยืดมือออกตรงๆ เมื่อสุดแขนก็กดชัตเตอร์ได้เลย....ภาพนี้เอาไว้ไปคุย ไปเล่าให้ใครต่อใครว่า... "เค้าได้ไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง" คราวนี้ได้รับเสียงจากน้องๆบอกว่า "คราวนี้จะได้ถ่ายภาพตัวเองบ้าง ไม่ต้องพึ่งใครก็ถ่ายได้ด้วย...." 







การถ่ายภาพ "คน" และ "กลุ่มคน" จะใช้ "เสียง" เป็นตัวบอกตำแหน่ง โดยคนที่ถูกถ่ายภาพจะต้องส่งเสียงเรียกก่อนถ่ายภาพ เพื่อบอกว่าตอนนี้คนที่กำลังจะถูกถ่ายภาพอยู่ตำแหน่ง ไหน..? จากนั้นก็ต้องเดินมาจับเดินมาคลำดู ว่ามีทั้งหมดกี่คน ถ้าเป็น 1-2 คน ก็ให้ถือกล้องในแนวตั้ง แล้วถอยห่างออกไป 2-3 ก้าว จะก้าวมากหรือก้าวน้อยนี่ ก็ต้องแล้วแต่ว่าเค้าจะก้าวเล็กหรือก้าวยาว.... เป็นวิธีการวัดระยะจากเมตรมาเป็นก้าวแทน

นอกจากนั้นยังต้องคิดต่อว่าถ้าคนถูกถ่ายภาพยืน ก็ต้องยืน....ถ้าคนถูกถ่ายภาพนั่ง เราก็อาจจะนั่งหรือก้มกล้องลง นี่ก็เป็นอีกเทคนิคนึง ที่ทำให้พวกเค้าสามารถถ่ายภาพใครๆก็ได้ อย่างสวยงามน่าชมจริงๆ 





นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า "คนตาบอดถ่ายภาพได้ไม่ยากเลย"

เจ๊ Bb กำลังแนะนำการวางมือในการถ่ายภาพในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช้หัวคิ้วอย่างที่เคยทำ คงเห็นว่าน้องคนนี้ถ่ายภาพได้ตรงแล้ว จึงหาวิธีการใหม่ๆเล่นสนุกกัน 






การถ่ายภาพสิ่งของทำอย่างไร...?

สิ่งของไม่มีเสียงเหมือนการถ่ายภาพคน ดังนั้น...ก่อนถ่ายภาพจะต้องเดินไปจับ ไปคลำ ให้รู้ว่าสิ่งที่เราถ่ายภาพนั้นมีความกว้าง ความสูงเท่าไหร่ จากนั้นก็ถอยหลังวัดระยะเหมือนกับการถ่ายภาพคน โดยให้กะระยะก้าวคล้ายๆกับคน ถ้าสิ่งของนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ ก็ถอยหลังมากน้อย ถ้ามีขนาดเล็กก็ถอยหลังน้อยหน่อย อยู่เตี้ยกว่าก็นั่งลงถ่ายภาพ เรื่องแบบนี้อาจจะต้องพึ่งคนตาดีนิดนึง ในกรณีที่เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่มากๆ อาจจะต้องบอกว่าสูงใหญ่แค่ไหน แล้วอาจจะต้องเงยกล้องในองศาเท่าไหร่...? ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องยากๆแบบนี้ คนตาบอดก็สามารถถ่ายภาพได้เช่นกัน 




การถ่ายภาพมาโครล่ะ...?

คนตาดียังว่ายากแล้วคนตาบอดจะถ่ายได้อย่างไร...? วิธีการก็เอามือวัดระยะแหละง่ายสุดๆ ให้แบมือออกตรงๆ แล้วเอาปลายนิ้วจิ้มไว้ ที่จุดกึ่งกลางของวัตถุที่จะถ่ายภาพ (ก่อนหน้านั้นต้องคลำก่อนว่าวัตถุนั้นใหญ่เล็กแค่ไหน ..?) จากนั้นก็เอาด้านข้างของกล้องแนบไว้ที่ฝ่ามือ ค่อยๆลากกล้องขึ้นมาจนถึงข้อมือ จากนั้นก็เอามือที่วัดระยะออก แล้วก็กดชัตเตอร์ได้เลย







ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการง่ายๆที่ให้ความสุขกับคนตาบอด อย่างหาที่เปรียบไม่ได้เลย...ใครจะคิดว่าคนตาบอดมองไ ม่เห็น สามารถถ่ายภาพได้เหมือนๆกับคนตาดี







 จากนั้นเราก็มาร่วมกันทำอัลบั้มภาพให้กับคนตาบอด เป็นการตอบข้อสงสัยอีกข้อนึงว่า.. เมื่อคนตาบอดถ่ายภาพมาแล้ว จะถ่ายทอดให้คนตาดีรับรู้ถึงความรู้สึกในภาพถ่ายได้อ ย่างไร...?

ช่วงเวลาที่คนตาบอดใช้ใจถ่ายภาพ....เราก็จะจดบันทึกไ ว้ เมื่อเอาภาพมา Print ก็จะทำอักษรเบลแปะติดไว้ด้านหลังภาพ

การเล่าเรื่องจะหันภาพให้คนตาดีดู แล้วคลำอักษรเบลเพื่อบอกเล่าถึงความรู้สึก ในครั้งที่ถ่ายภาพนั้น ข้อความนี้เป็นข้อความบันทึกโดยคนตาบอด ยังสามารถเล่าเรื่องได้อีกตามความจดจำในช่วงเวลานั้น






นี่เป็นเครื่องพิมพ์และ "น้องปอ" มือพิมพ์ที่มาช่วยเรา เพราะเราเองก็ไม่มีความสามารถในการพิมพ์อักษรเบลอย่า งนี้แน่นอน เค้าว่ามี สองจุดสี่จุดหกจุดอะไรนั่น....หลังจากพิมพ์แล้ว ก็ต้องพึ่งให้น้องๆเค้าอ่านให้ด้วย เพราะเราจะได้ติดหลังภาพได้ถูกต้อง 






 ไม่ต้องถามว่าภาพชุดนี้ถ่ายด้วยกล้องอะไร...? ปรับค่า ISO เท่าไหร่...? ถึงได้เห็น Noise กระจุยกระจายอย่างนี้

ทุกภาพใช้กล้อง SLR กับเลนส์คุณภาพสูงทั้งนั้น แล้วใส่ Noise ในขั้นตอนตกแต่งภาพเข้าไปอีก เพื่อเร่งให้เกิดอารมณ์ของความหยาบกร้านมากขึ้น ก็แค่นั้น....

ทั้งหมดนี้จากโครงการสอนถ่ายภาพให้กับคนตาบอด ที่โรงเรียนสันติจินตนา อ.เด่นชัย จ.แพร่ กับทีมงาน Pict4all พร้อมทั้งการสนับสนุนจาก Canon Marketing (Thailand) ที่สนับสนุนกล้องสอนถ่ายภาพ 12 ตัว และบริจาคกล้องให้กับโรงเรียนอีก 3 ตัว พร้อม Printer ขนาดใหญ่ 1 เครื่องกับกระดาษพิมพ์อีกมากมาย นอกจากนี้ยังได้รับความสะดวกสบาย เรื่องการเดินทางและที่พักจากหน่วยทหาร ม.พัน 12 กองพลทหารม้าที่ 1 จัดรถมารับ-ส่งและที่พักให้สำหรับทริปนี้ด้วย

และที่ลืมไม่ได้เลยกับเงินบริจาคของพวกเราหลายๆคน ที่มอบให้คราวมาเรียนถ่ายภาพ แล้วยังแบ่งเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากคอร์สอบรม นำมาบริจาคเป็นเงินสดอีกจำนวนนึง...

ยังมีเรื่องราวดีๆอีกมากมายจะมาเล่าให้ฟังจากโครงการ นี้ อยากให้พวกเราเข้าไปดูกระทู้ที่หลายๆคนได้โพสไปแล้ว ประกอบกับเสียงเพลงจากใจของน้องๆคนตาบอดโรงเรียนนี้. ...ดูช่างซึ้งใจจริงๆนะ



 เรื่อง/ภาพ โดย อ.ภูวพงษ์  ผจญอริพ่าย
 http://www.pict4all.com










Photography Course for the Visually Impaired Project



ANYTHING IS POSSIBLE IN AN UNSIGHTED WORLD FROM BEHIND A LENS.

The View Finder and LCD monitor will no longer be necessary for one group of people
who shoot photographs ‘instinctively’ and not ‘visually’.

Photography is not only many art lovers’ dream but also for the visually impaired, who are
always considered to be people in photographs, not the ones pressing shutters. Just because, ‘Being unable to see’ is the cause that they are unable to take photos. Well, we can put it better this way – Change this thought to, ‘Do not (need to) look.’ 







From Inspiration
‘How could a blind person become a photographer?’

‘Choon’, or Mr. Nopadon Panyawuthikrai, has been always questioned by many people
every time he conveys his thoughts on a project to other people. It seems that the more
explanations he gives, the more question marks come into his story.
‘There is no one in Thailand that has yet run this project ever before. As per my research, there are less and less people who do the same thing as I am doing now, even in other countries. The first country that was a pioneer of this project was Japan, secondly, Israel, and I’m not certain about the third one whether or not it is the UK or the USA. We [Thailand] are the fourth country in the world running this project.’






Mr. Nopadon is referring to the ‘Photography Course for the Visually Impaired Project’. Project volunteers are from members of a social group called Pict4all—a photography lovers’ community that does not only aim for pleasure from photography, but also create smiles and joyfulness in society and various minority groups of people who are less fortunate than themselves. The project is inspired from the vision of a man who is totally passionate about photography, that man is Ajarn Tawat Malila



Picture taken by Blind Student. 
‘When it comes to photography, I always emphasise that motivation or inspiration in
photography is a top priority for a person who is going to do a photo shoot.’ Ajarn Tawat is
inspired, in return, by the resilience and resourcefulness of the physically & visually impaired, compelling him to kick off this project in Thailand.
 
Picture taken by Blind Student.



‘I went to Sa Nam Luang when the funeral of HRH Princess Kanlayaniwattana was organised there at that time. There was a lady in a wheel-chair. I was wondering why this lady was here and why she completely alienated herself from others. I walked past that lady turning my eyes to her, and then I saw that she had also brought her camera along. I asked her what was the inspiration for her photography. She replied that she loves photography so much. Photography is happiness.Therefore, I took her photo and told her that if she did not mind I would like to illustrate the photos of her I captured to be a part of my lecture.

Later, after this initial encounter, I went to Nan Province with our staffs to make a donation, we visited Khao Noi (Mount Noi). Khao Noi is a mountain landscape that has views overlooking Nan City. While I was admiring the views, I saw one man who was taking a photo. However, the way he took the photos was not typical, intrigued I walked down to him. It appeared that he had no arms from below his elbows but yet he still smiled. I asked him how he felt when he took photos. He answered to me that he was really happy. After his reply, I asked him for permission to photograph him, just like I did the lady I had met previously at Sanam Luang.’

Ajarn Tawat carried the stories of meeting these 2 physically impaired people into his
photography classes until he had a chance to go to a workshop and a photography exhibition where all the photographs on display were taken by Israeli blind people in June 2009. These events really inspired him to start this project.
-----------
Ms. Iris Darel Shinar tells me that when she conducted her photography class for the visually impaired, they were proud to say that they had a chance to do what sighted people do and they feel happy about this. I wondered about this until I went to observe the class last time (first-time session), and I found that it’s true. They are truly happy.

That filled me with confidence for running the project, especially, when all support comes from Mr. Nopadon and Pict4all members, who I strongly feel, can make the project a success.
‘Khun Choon has blindfolded himself three times, each time for 8 hours, to gain an empathy with his students. He has had his eyes covered up, and then wandered around places he had never been to before to shoot photos. I accompanied him one time to observe. Suddenly, I had the overwhelming belief that we will succeed because I am passionate to make this project here in Thailand, which no one has done yet. I think we should offer visually impaired people opportunities to be happy.’






Mr. Nopadon admitted that it is not easy to live your life in a dark world. You have to exercise other senses which must direct your path, but to be unable to see things sometimes makes him discover an unusual and unexpected happiness.

‘When we visually see things, our sight overwhelms our other senses as we see things with our eyes. But when we are blind, things we used to be worried or frightened about before are not such a big problem in photography at all... I can honestly tell you that I have taken photos for five years visually, but when I made myself blind, and took photos, it is the happiest moment I’ve ever had. Firstly, we couldn’t see anything, so we would never know how things look and what colours there were because we took all the photos instinctively from our heart. They were pictures of a barista, a merchant. We listened to their voices and we felt those voices were nice.

Those voices sounded happy. We assumed that they would be good photos to take even
though we were not sure if they would be good or not but our heart told us that they were happy.

We don’t need to worry whether they will be beautiful pictures or not, at the end of the day, we can’t see the photos, but there are images of divine feeling saved in a good part of our memories.

Being blind made me realise the way that we all take it for granted when we use our personal thoughts to replace feelings of people who have no chances for good opportunities in society.

This may seem somewhat a view of self-centredness.’

 Picture taken by Khun Choon being blindfolded himself




 
 To Visually Impaired

From the inspiration and the kernel of those thoughts, Mr. Nopadon gradually formed the
project and curriculums in order to propose them to The Bangkok School for the Blind, where Ajarn Tawat Malila and Ajarn Phuwaphong Pajonaripai are counsellors, as well as to muster support from the Art and Culture Office of Chandrakasem Rajabhat University 



. 



‘First we contacted the school, and they said no to the project. They said there were many people wanted to come here for their own benefits. Then the Art and Culture Office of Chandrakasem Rajabhat University provided us assistance in terms of project coordination; thus we were finally allowed to run the project, said Nopadon.’

Rujirat Pawanno or Kroo Tao, an Assistant to Executive Department of The Bangkok School for the Blind, said that basically there will be groups of people who frequently visit the School, especially, celebs. When they come over, they will have photo shoots with the children as presents for the children. In so doing, some children are inspired to take photographs by themselves. It is observed by the way they feel the cameras with a gentle touch and inquisitively.



Picture taken by Blind student


 ‘They are really thrilled when they know there will be people to come teach them photography.

They doubt that they can do it. They know about the camera and its technology development.

Although when visitors come they will ask to touch the cameras or when teachers say ‘action!’ they will smile, but they never thought they will actually stand behind the lens pressing shutter themselves.’

Delighted by the possibility of the new experience that comes their way leads thirty visually
impaired students to register for this course. Nevertheless, there is a difficulty in providing
equipment to every student, as supplies are limited. Therefore, Kroo Tao decided to select ten completely-blind students to attend a pre-class session before the other twenty.
‘There will be course 2 and 3 conducted respectively, after the first one for the initial ten, as every student who applies for the course would love to learn. They all ask eagerly when they can start the course’, said Kroo Tao.



Picture taken by Blind student

Speaking to Mr. Nopadon that there should be sponsors like camera companies, etc, he said he first planned to ask for sponsorship too, but as there has been no such project running in Thailand before, many people can’t imagine what the project will be like.

‘Plus we are not sure whether or not this project will be successful; thus, we invested our own money for the start. We bought ten digital cameras, which are around 35,000 baht . We found after we had completed 3 course-groups, we got good feedback and discovered that the students can practically take photos themselves, so we decided we will donate all apparatus to the school, together with the photo albums.

The Art and Culture Office of Chandrakasem Rajabhat University will provide us with a budget for photo development. As we intend to create A4 photo albums for students, we will print photos with the size of 4” x 6”, by doing so there will be space to insert the Braille for them to do their photo arrangements.’


Picture taken by Blind student



The courses are just like fundamental courses that sighted people have, such as portrait,
macro, landscape, etc., which are all conducted in 6 sessions. Each session lasts 3 hours. From this experience, teachers found that they underestimated the students’ learning capability, and therefore, they had to revise the syllabus.

‘The first day of the class, we prepared our instructions for an hour of teaching, to show the students how to change batteries and SD cards. It turned out that when we started the session all the students came to report, only 15 minutes later, that they had done it already. When I asked them how they had done it, they told me that once they knew how to turn the camera on, they will feel the batteries to sense where their plus and minus are located. After that they will take them out. However, they will not remove the batteries right away while the cameras turned on. They have their own process to learn this by themselves. For the SD cards, when pressing and taking the cards out, they can correctly put the card back to its position just right as in the first instance. Sometimes people who are sighted can’t do it right as we never ever learn by heart. We do it wrong, and then we do it again to make it right. But this is the way of their learning’, said an impressed Mr. Nopadon. 






When we ask a volunteer teacher, Chaii – Mr. Tanongsak Thammawoot, how difficult or easy it is to teach the blind to shoot photos. He sincerely confessed that...


‘The word ‘teaching’ is not appropriate in this context. Apparently, they teach us instead.
Seriously, they are capable of doing the incredible, for example, to rotate photos that are
not in a correct composition. They locate cameras to their brows to adjust photo
composition, and many more amazing things. ‘Full of surprise’, are the best words to
explain everything about them. We eventually realise that tiny space we are feeling is our
selves. We thought it would be hard or near impossible to teach them, but in fact they are
really open-minded. They really are. The real blind are us instead. We take them for
granted that they have to be like this or that, but as a matter of fact they are full of
potential… When we first planned coming to teach them we thought in a limited manner
but we are finally given ways of thinking, perspectives, and millions of things that we
thought are not possible, but which actually are. ’



Picture taken by Blind student 


Same as junior students from Computer Science, Chandrakasem Rajabhat University, who are proud of what they have seen and found themselves shedding tears of joy during their first observation.

‘I never thought they could do it but I’m so glad when I saw what they were doing. I’m really proud of what they do’, said Ing – Matinee Srikaew, representative of Chandrakasem Rajabhat University students.



Picture taken by Blind student




 Now it’s time to interview photography students. Let’s start with a little naughty boy, Oat – Onepra Angsunart, 15, whose personality is really distinctive. He likes climbing up to take photos from high positions downward to objects even though he can’t see anything at all, or he will also do in a reverse way. His techniques make his teacher, Kroo Chaii, unable to stop himself from smiling every time Oat does this.

Oat told us that he could see everything like other people until he was 9 years old. One day while he was playing football, there was a lightning strike right in front of his eyes. After the lightening hit he could not see things clearly ever again, and that lead his visual ability to be completely out of control.

‘I feel that to be blind is better than a person who can see things because I won’t see anything bad. Being blind like this is somewhat peaceful. I don’t see something, which makes me feel disturbed. I sometimes want to go out by myself sightseeing but being blind is better anyway.’

Oat said the hardest thing about photography for the visually impaired is to shoot pictures in motion as he can’t see what direction the subject is moving in. However, he will still try to make this happen. He tries his very best to improve his photography skills in order to become a professional photographer in the future.



Picture taken by Oat - Onepra Angsunart , the blind student.

Another photography student, Phon – Suchanart Malathong, 12, told us that she loves photography but she never ever thought she would have the chance to take control over a camera and control the shutter herself.

‘I’d like my parents to see me taking photos. I want them to see that I can do it but I still didn’t tell them I’m taking this course’ (laughing), said Phon.



Picture taken by Phon , the blind student 



Nopadon said he’d like this project to be an ongoing work, which anyone can help carry out. To expand the project success, he will sell posters of pictures that his students took, so they can be proud of their work and receive an income they can actually earn by themselves.

‘We’ve planned to organise an exhibition of photography by the visually impaired. We’d
like to take this opportunity to say to Bangkok Art and Culture Gallery that when we
launch this event, we’d like them to please support us with the time and space for the
exhibition. We’d like people in society to realise that the happiness and capabilities of
the visually impaired are beyond what we all can imagine’, said by Nopadon.













 Story : Nipaporn Tabhun
Bangkokbiznews Judprakai
Year 24th, Issue: 8106, Thursday 2nd December 2010, ktjud@nationgroup.com

Translation : Thitichaya Prompubesara , Anthony James Squibb
Photos : Pict4All Staffs


 Recommended thread

Photo album taken by Blind students of The Bangkok School for the Blind
http://www.pict4all.com/vboard/showt...-for-the-Blind